ไขข้อสงสัยว่า Design Thinking สำคัญอย่างไรกับ Digital Workplace ในช่วงเวลานี้?

24 ตุลาคม 2566 16:07 น.

หากองค์กรมี ‘บุคลากร’ ที่มีทักษะ ‘การคิดเชิงออกแบบ’ และ ‘ความคิดเชิงสร้างสรรค์’ มากเท่าไร … ก็จะทำให้ ‘องค์กร’ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี เติบโต และสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้มากขึ้นเท่านั้น !!!


การพัฒนาทักษะทางความคิดเชิงออกแบบทั้งในส่วนของ Design Thinking & Innovation ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างสรรค์และพัฒนากระบวนการทำงานใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้งานได้จริงในองค์กรทุกแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ … หากคุณหรือพนักงานในทีมมี ‘กระบวนการคิดที่ดี’ ก็จะถือเป็นประโยชน์อย่างมากและช่วยให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ต่างๆ ได้ถูกต้องตรงจุด ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาแนวคิดหรือส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ เพื่อที่จะหาเส้นทางหรือวิธีการที่ดี เหมาะสม ตอบโจทย์การดำเนินงาน รวมถึงสอดคล้องและเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่องค์กรได้มากขึ้นด้วย

 

แล้วความหมายจริงๆ ของ Design Thinking คืออะไร?

‘Design Thinking’ หรือ ‘กระบวนการคิดเชิงออกแบบ’ คือ กระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ดี ไปจนถึงออกแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนเหล่านั้นควบคู่ไปกับการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ตั้งไว้ด้วยแนวทางที่ดีและเหมาะสม ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของกระบวนการนี้ จะ Focus ไปที่ผู้ใช้/ผู้บริโภค (User-Centered) เป็นหลัก ผ่านกระบวนการตั้งคำถามกับสมมติฐาน การทำงานร่วมกัน การระดมสมองและการสร้างต้นแบบ (Prototype) เพื่อทดสอบแนวคิดและรับคำติชม นอกจากนี้ กระบวนการคิดแบบ ‘Design Thinking’ นั้น ยังสนับสนุนให้เกิดการคิดนอกกรอบ เปิดกว้าง สร้างสรรค์และไร้ขีดจำกัด เพื่อรวบรวมไอเดียใหม่ๆ ทั้งหมดมาพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่คนส่วนมากคิดว่าทำไม่ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรมโดยตอบโจทย์การใช้งานและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย


ลองมาทำความเข้าใจทั้ง 5 ขั้นตอนของกระบวนการ Design Thinking แบบคร่าวๆ ที่เรานำมาฝากกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาซับซ้อนที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ดีขึ้น โดยถือเป็นอีกหนึ่งหลักการที่ได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระดับองค์กร ระดับประเทศ หรือแม้แต่ปัญหาระดับโลก !!!

 

1. Empathy Phase (เอาใจใส่)
ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Design Thinking คือการทำความเข้าใจปัญหาที่เราพยายามแก้ไข โดยการสังเกต การมีส่วนร่วม และการเอาใจใส่ผู้คนรอบตัวเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์และแรงจูงใจของพวกเขา และแน่นอนว่าข้อมูลเชิงลึกจำนวนมากจะถูกรวบรวมในขั้นตอนนี้เพื่อพัฒนาและนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป


2. Define the Problem (กำหนดปัญหาให้ชัดเจน)
ขั้นตอนนี้สิ่งที่เราต้องทำก็คือการนำข้อมูลทั้งหมดที่หาได้จากในขั้นตอน Empathy มารวมกันเพื่อวิเคราะห์ โดยในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้จะช่วยให้นักออกแบบในทีมสามารถวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองข้อมูลให้เป็นปัญหาที่แท้จริง สามารถกำหนดหรือบ่งชี้ปัญหาได้อย่างชัดเจนเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปฎิบัติการต่อไป รวมถึงมีแก่นยึดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีทิศทาง


3. Ideate (แนวคิดหรือการระดมความคิด)
ในขั้นตอนที่ 3 ของกระบวนการ ‘Design Thinking’ นั่นก็คือ การระดมความคิด โดยถือเป็นการนำเสนอแนวความคิดตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่มีกรอบและข้อจำกัด แน่นอนว่าคุณควรระดมความคิดในหลากหลายมุมมอง หลากหลายวิธีการ ออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะเป็นฐานข้อมูลในการที่เราจะนำไปประเมินผลเพื่อสรุปเป็นความคิดที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหานั้นๆ นอกจากนี้ ‘การระดมความคิด’ ยังช่วยให้เรามองปัญหาได้อย่างชัดเจน รอบด้าน รวมถึงช่วยหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบมากขึ้นอีกด้วย


4. Prototype (การสร้างต้นแบบ ทางเลือก แปลงไอเดียให้เกิดเป็นรูปร่าง)
ขั้นตอนนี้เป็นการนำไอเดียทั้งหมดที่ถูกคัดเลือกมาสร้างจริงก่อนที่จะนำไปทดสอบในขั้นตอนถัดไป เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้เราจึงไม่ควรใช้งบประมาณมากเกินไปสำหรับการออกแบบและการผลิต เนื่องจากจุดประสงค์หลักคือการพิสูจน์ว่าไอเดียที่เลือกมานั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่? มีจุดบกพร่องตรงไหนที่สามารถปรับให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น? โดยอาจจะทำการทดสอบภายในองค์กรหรือกลุ่มคนเล็กๆ ในทีมก็ได้เช่นเดียวกัน


5. Test (ทดสอบก่อนนำไปใช้งานจริง)
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ ‘Design Thinking’ นั่นก็คือ การทดลองนำต้นแบบ (Prototype) หรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อนเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผล โดยในขั้นตอนนี้อาจมีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือแก้ไขซ้ำหลายรอบ เพื่อรับคำติชม พร้อมทำความเข้าใจถึงพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึกของผู้ใช้งานหรือลูกค้าอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงเพื่อหาไอเดียที่แก้ไขปัญหาได้จริงและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด เสร็จแล้วก็นำเอาปัญหาหรือข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้งานจริงในครั้งต่อไป


และนี่คือ 4 ข้อดี ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพและมองเห็นความสำคัญของการนำ ‘Design Thinking’ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อบุคลากรไปจนถึงองค์กรเลยทีเดียว


# ‘Design Thinking’ ช่วยฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาของทุกคน ตลอดจนช่วยในการหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน

# ‘Design Thinking’ ช่วยให้ทีมและองค์กรมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงมีตัวเลือกที่ดีที่สุดก่อนนำไปใช้แก้ปัญหาหรือนำไปปฏิบัติจริง

# ‘Design Thinking’ ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ ให้คุณรู้จักหาวิธีแปลกใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกความคิดและต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ได้

# ‘Design Thinking’ ช่วยส่งเสริมองค์กรให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบ เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบย่อมส่งผลให้องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบเช่นเดียวกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาพรวมของการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย


รู้อย่างนี้แล้ว … การเข้าใจถึง ‘หลักการ’ และ ‘เครื่องมือที่เหมาะสม’ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ที่ตอบโจทย์พนักงาน ธุรกิจ รวมถึงการทำงาน … ย่อมช่วยให้องค์กรเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน!

Innovation & Design Thinking (การพัฒนานวัตกรรมด้วย Design Thinking)
คอร์สออนไลน์เนื้อหาอัดแน่นจัดเต็มกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องของ “นวัตกรรม” ทราบถึงพื้นฐานของ Design Thinking รวมถึงเข้าใจหลักการและเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานต่อได้เป็นอย่างดี

แล้วคุณพร้อมหรือยัง !? … ที่จะสร้างความสำเร็จและยกระดับขององค์กรให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยเครื่องมือสำคัญที่ต่อยอดปรับใช้ได้อย่างไม่รู้จบ … อย่าง Innovation & Design Thinking


สนใจดูตัวอย่างวิดีโอเบื้องต้นและรายละเอียดหลักสูตรทั้งหมด ได้ที่ :
https://www.spaceship.in.th/courses/96/info

Loading...