7 คุณสมบัติสำคัญ … เพื่อส่งเสริมให้คุณเป็นหัวหน้าที่ดียิ่งขึ้น

8 ธันวาคม 2566 09:06 น.

การทำธุรกิจการค้าและการแข่งขันอย่างเสรี / การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี นวัตกรรม ดิจิทัลต่างๆ ความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ไปจนถึงความต้องการของบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่หลากหลาย …

สิ่งสำคัญเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบาย แผนงาน กลยุทธ์ในการบริหารจัดการองค์กร ที่ต้องมีการปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ Process หรือกระบวนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ ‘ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล’ ที่ดีในองค์กร ซึ่งเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานอย่างยั่งยืน

ซึ่งแน่นอนว่า … สำหรับทุกท่านที่อยู่ในตำแหน่ง ‘ผู้บริหาร ผู้นำหรือหัวหน้าทีม’ นอกจากจะต้องดูแลรับผิดชอบเรื่องของการทำงานทั้งหมดให้สำเร็จตามเป้าหมายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ ’พนักงานและทีมงาน’ ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้การทำงานสำเร็จลุล่วง แต่การจะ ‘สร้างสรรค์ให้ทีมงาน’  มีความพร้อม มีความสุข ควบคู่กับการมีประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างดีเยี่ยมนั้น ย่อมต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างควบคู่กัน เพราะในสภาพแวดล้อมของการทำงานจริง สมาชิกทุกคนในทีมก็อาจจะต้องพบเจอกับความท้าทายหรือปัญหาอีกมากมาย

แล้วเราในฐานะหัวหน้างาน … หากเราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อก้าวสู่การเป็น “หัวหน้างานยุคใหม่มืออาชีพ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสกิลด้านศิลปะการสั่งงานและมอบหมายงาน การสื่อสารที่ชัดเจนเชิงบวกเพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความตื่นตัวในการทำงาน การสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องทั้งในแง่ของการบริหารคนและบริหารงาน รวมถึงพัฒนาความเชี่ยวชาญเพื่อนำหลัก “จิตวิทยาการบริหาร” มาสร้างแรงจูงใจเพื่อนำพาและผลักดันทีมงานและองค์กรสู่ความสำเร็จพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ (Competitive Advantage) สิ่งเหล่านี้ย่อมช่วยส่งเสริมให้ ‘ทีมงานของเรา’ สามารถทำงานร่วมกันอย่างสันติ มีประสิทธิภาพ และมีกำลังใจในการนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด!

แล้วหัวหน้างานที่ดีเป็นอย่างไร? เจ้านายที่ได้ใจลูกน้องควรจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? ในบทความนี้เราจะมาพูดกันถึง 7 เทคนิคเบื้องต้นเพื่อมัดใจลูกน้องและช่วยให้การบริหารคนกลายเป็นงานง่าย เพื่อให้ ‘หัวหน้างานทุกคน’ ได้ทำความเข้าใจและลองนำไปปรับใช้บริหาร ‘ลูกน้อง’  ของตนเองให้เป็นไปในทิศทางที่ดี สร้างสรรค์ บรรลุเป้าหมาย และสามารถรับมือกับทุกความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น !!!

1. ต้องมีภาวะผู้นำสูง

ผู้นำที่ดีต้องกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกและกล้าให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่ลูกน้องอย่างเป็นธรรม เพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์กรเชิงบวกซึ่งช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

2. เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงไอเดียและความคิดเห็น
ในบางเรื่องลูกน้องอาจมีไอเดียดีๆ สำหรับการทำงานในเรื่องนั้น คุณควรเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ตามความเหมาะสมหรือแสดงความคิดเห็นของเค้าบ้าง นอกจากนี้มีผลงานวิจัยที่น่าสนใจยืนยันอีกว่า … การเห็นคุณค่าของลูกน้องเป็นสิ่งที่หัวหน้าควรให้ความสำคัญ และในบางครั้งความคิดเห็นของลูกน้องบางความคิดเห็นอาจช่วยพลิกธุรกิจคุณหรือทำให้สถานการณ์ในการดำเนินงานต่างๆ ดีขึ้นได้เยอะเลยทีเดียว

3. เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงฝีมือ
การเปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงฝีมือจะทำให้พวกเค้าเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกถึงความไว้วางใจและเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเค้าได้พัฒนาตัวเองด้วย เพราะในบางครั้งคุณอาจจะมองเห็นศักยภาพซึ่งคุณเองอาจคาดไม่ถึง และแน่นอนว่าอาจนำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นก็เป็นได้

4. ให้กำลังใจลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ 
เมื่อลูกน้องทำดีคุณก็ควรชื่นชมบ้าง … แต่เมื่อเขาทำผิดพลาดก็ไม่ควรดุด่าว่ากล่าวจนเสียกำลังใจ รวมถึงเมื่อลูกน้องมีปัญหาคุณก็ควรช่วยแก้ปัญหาพร้อมแนะนำในจุดที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม 

5. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องและแสดงให้เห็นถึงการทำงานแบบมืออาชีพ
การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องจะทำให้ลูกน้องจดจำและเกิดความประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางตัว แบบอย่างในการใช้ชีวิต แบบอย่างในการทำงาน ความเอาใจใส่ ความกระตือรือร้นในการทำงานประจำวันและการจัดการเรื่องต่างๆ เป็นต้น เพราะเมื่อลูกน้องได้สัมผัสและเห็นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ … นานวันเข้าจะทำให้เกิดความคิดว่าคุณเป็นเจ้านายที่เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้พวกเค้ารู้สึกยกย่องคุณในส่วนลึกของจิตใจ

6. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง
เพราะการบริหารงานจะเน้นแต่ประเด็นของ ‘การสร้างงาน’ เพียงอย่างเดียวคงเป็นไปไม่ได้ หัวหน้างานควรเน้นและให้ความสำคัญกับ ‘การสร้างและบริหารคนให้ได้งานและได้ใจลูกน้อง’ ด้วย เพราะการสร้างทีมเวิร์คและความสัมพันธ์ที่ดีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จะช่วยส่งเสริมให้ผลงานออกมาดี ทุกคนมีความสุขในการทำงาน และเกิดเป็น Happy Workplace ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป …

7. มีวิสัยทัศน์และสามารถทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นจริง
การมีวิสัยทัศน์หรือไอเดียสร้างสรรค์มากมายนั้นถือเป็นสิ่งดี แต่หากไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้สักอย่าง คนที่ทำงานร่วมกันกับคุณก็จะรู้สึกเหนื่อยและรู้สึกว่าสิ่งที่ลงแรงทำไปนั้นไร้ความหมาย หัวหน้าที่ดีจึงต้องทำให้วิสัยทัศน์ของตนเองเกิดขึ้นได้จริงเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกน้องมากยิ่งขึ้น และแน่นอน … ไม่ว่าโปรเจกต์ต่อไปจะเป็นอะไร จะมีขั้นตอนซับซ้อนหรือรายละเอียดมากแค่ไหน ลูกน้องก็พร้อมที่จะร่วมมือและทุ่มเทไปพร้อมกับคุณอย่างแน่นอน

มาถึงตรงนี้แล้ว … ลองนำ 7 เทคนิคเบื้องต้นไปลองปรับใช้กันดูนะคะ แต่อย่าลืมว่า “ทักษะการบริหารลูกน้องที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ธุรกิจของคุณเดินต่อไปอย่างมั่นคง”

สำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน หรือผู้ที่กำลังจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น “หัวหน้า” รวมถึงเจ้าของธุรกิจ หากต้องการเรียนรู้เทคนิคและแนวคิดที่ทันสมัย “เพื่อจุดประกาย” ให้คุณได้ไอเดียใหม่ๆ ไปปรับใช้กับลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในส่วนของศิลปะการสั่งงาน มอบหมายงาน การสื่อสารที่ชัดเจน โดยเฉพาะการนำ “จิตวิทยาการบริหาร” มาสร้างแรงจูงใจเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดีและนำพาทีมงานและองค์กรให้ก้าวผ่านภาวะวิกฤตไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต อย่าพลาดคอร์สนี้นะคะ ‘People Management Skills’ (ศิลปะในการบริหารคนสำหรับหัวหน้างานยุคใหม่) ซึ่งดำเนินการสอนโดย อาจารย์ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร ที่ปรึกษาผู้คร่ำหวอดในแวดวงบริหารทรัพยากรบุคคล ประสบการณ์สอนและเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทชั้นนำต่างๆ ทั่วประเทศมากกว่า 20 ปี


** หัวข้อที่คุณจะได้เรียนรู้ทั้งหมดในคอร์สนี้ **

  • เคล็ดลับแรงจูงใจสำหรับผู้จัดการมือใหม่
  • การสื่อสารเพื่อความเข้าใจต่อทีมงาน
  • เคล็ดลับการสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพ
  • เทคนิค Coaching สำหรับผู้บริหาร เพื่อให้ทีมงานสร้างผลงานได้ตามเป้าหมาย
  • บทสรุปการพัฒนาทักษะการเป็นหัวหน้างานที่ดี

    ** คลิกรับชมเนื้อหาและตัวอย่างการสอนได้เลยที่ : https://www.spaceship.in.th/courses/9/info ** 
Loading...