14 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นที่คุณควรรู้
สิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพนั้นมีเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางองค์ประกอบ การเลือกใช้กล้องในการถ่าย หรือแม้แต่อุปกรณ์เสริมกล้องที่ดี และเหมาะสม เพื่อให้ภาพออกมาแบบที่ต้องการ 14 เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้นที่คุณควรรู้ จะทำให้เข้าใจถึงลักษณะการทำงานของกล้อง รวมถึงเทคนิคการถ่ายภาพง่ายๆ เพื่อทำให้ภาพออกมาสวย คมชัด และเมื่อเราเข้าใจเทคนิคต่างๆมากขึ้นและนำไปฝึกฝน เราจะสามารถถ่ายภาพให้สวย และถ่ายภาพให้ออกมาอย่างที่ใจเราต้องการ
1.หาจุดโฟกัสให้ได้ก่อน
การที่เราจะถ่ายภาพสิ่งต่างๆเราต้องเลือกว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะถ่าย หลังจากนั้นเราควรที่จะโฟกัสสิ่งนั้นเป็นหลัก เพื่อเก็บรายละเอียดให้ครบถ้วน และอย่าลืมเช็คโฟกัสให้ดีก่อนที่จะกดชัตเตอร์
2.โฟกัสแบบ Single Point AF
การเลือกจุดโฟกัสที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ภาพถ่ายของเราเบลอ และการใช้การโฟกัสแบบจุดเดียว หรือ Single Point AF ในการโฟกัสจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าการโฟกัสของเลนส์อยู่ในจุดที่เหมาะสมแล้ว
3.ปรับความเร็วของชัตเตอร์ให้เหมาะสม
ความเร็วของชัตเตอร์ หรือ Shutter Speed มีผลอย่างมากกับภาพ ถ้าเลือกความเร็วของชัตเตอร์ไม่ดีก็อาจทำให้ภาพออกมาเบลอและไม่ได้ดั่งใจ และ Shutter Speed ยังส่งผลถึงการสร้างการเคลื่อนไหวของภาพและการหยุดวัตถุอย่างการถ่ายหยุดน้ำอีกด้วย
4.ใช้ ISO ต่ำ
ใช้ ISO ต่ำในที่แสงมาก และใช้ ISO สูงในที่แสงน้อย นี่คือเรื่องเบื้องต้นที่เราเข้าใจ แต่เราควรระวังไม่ใช้ ISO สูง เพราะการใช้ ISO มากจะทำให้ภาพเกิดสัญญาณรบกวน หรือ Noise ได้
5.เปิดใช้ระบบกันสั่น
เลนส์ส่วนมากจะมีระบบกันสั่นติดมาด้วย ถ้าเราไม่ได้พกขาตั้งกล้องออกไปถ่ายภาพ ตัวกันสั่นของเลนส์จะช่วยป้องกันปัญหาได้ดีเลยทีเดียว
6.ถ่ายรูปด้วยกฎสามส่วน
กฎสามส่วน เป็นหนึ่งในเทคนิคการถ่ายภาพที่นิยมและง่าย วิธีการใช้เทคนิคนี้คือการวางตำแหน่งของสิ่งที่เราจะถ่ายไว้ที่จุดตัดของเส้นจุดใดจุดหนึ่ง จะช่วยให้ภาพมีความน่าสนใจและไม่ทื่อจนเกินไป
7.ใส่เส้นนำสายตาเข้าไปในภาพ
เส้นนำสายตาเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นิยม เพราะตจะทำให้ภาพมีมิติและน่าหลงไหล แต่ไม่ได้ถูกใช้บ่อยนักด้วยข้อจำกัด วิธีการใช้เทคนิคนี้คือการให้เราเอาสิ่งที่เราจะถ่ายไปไว้ในจุดที่ทิศทางขององค์ประกอบส่วนใหญ่พุ่งไปหา โดยสามารถอิงกับกฎสามส่วนก็ได้
8.เลือกพื้นหลังที่ไม่รก หรือรายละเอียดมากเกินไป
การที่เราจะให้คนหรือสิ่งของดูเด่นขึ้นมาได้ วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการให้พื้นหลังนั้นไม่รกจนรบกวนสิ่งที่เราจะถ่าย ไม่ว่าจะเป็นกำแพงเรียบๆ หรือจะใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อพื้นหลังเบลอ (การถ่ายหน้าชัดหลังเบลอ)
9.ถ่ายสิ่งที่ชอบ
ในเบื้องต้นถ้าเราไม่รู้จะถ่ายอะไร แต่ต้องการจะฝึกฝนให้เราถ่ายสิ่งที่ชอบจะทำให้เราเรียนรู้และปรับเทคนิคได้ไว้ เพราะว่าเราจะถ่ายสิ่งที่ชอบ
10.รู้จัก Location ให้ดีก่อนที่จะถ่ายจริง
การที่เรารู้จักสถานที่นั้นก่อนถ่ายจริงจะช่วยให้เราเลือกมุมดีๆของสถานที่นั้นได้ รวมถึงรู้ถึงมุมของแสงในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจะถ่ายภาพให้ออกมาสมบูรณ์แบบ
11.ใช้แสงธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
แสงธรรมชาติเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการถ่ายภาพให้สวยและคมชัด และถ้าเราเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับอารมณ์ของภาพจะยิ่งทำให้ภาพของเรานั้นดูน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
12.ถ่ายภาพในช่วง Golden Hour
Golden Hour คือช่วงเวลาที่แสงนั้นมีความนุ่มนวลที่สุดคือช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกหรือขึ้น 30 นาที เพราะแสงแดดจะไม่สว่างจนเกินไป ฉะนั้นต้องเตรียมมุมดีๆ เพราะมีเวลาให้ถ่ายภาพสั้นมากๆ
13.ถ่ายภาพด้วยเงาสะท้อน
การถ่ายภาพคือการเก็บแสง และการถ่ายภาพในเงาสะท้อนจะช่วยเพิ่มมิติและเสน่ห์ให้กับภาพ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ทะเล หรือแม้แต่น้ำขังในเวลาที่ฝนตก
14.เลือกใช้เลนส์ให้เหมาะสม
เลนส์แต่ละชนิดจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เราต้องคิดเอาไว้ก่อนว่าเรากำลังจะถ่ายอะไร และหลังจากนั้นให้เลือกเลนส์ที่ดีที่สุด รวมถึงเหมาะสมที่ของเราออกมาใช้